วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศักยภาพในการรักษาความชื้นในดินของต้นลิงลาว

ศักยภาพในการรักษาความชื้นในดินของต้นลิงลาว

Mr.Sawing Khuntasa
สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย





ศักยภาพการรักษาความชื้นในดินของต้นลิงลาว  ดำเนินการศึกษาระดับความชื้นในดินที่ความลึกระดับ 30 เซนติเมตร และวัดห่างจากต้นเมี่ยง กาแฟและต้นลิงลาวอย่างน้อย 50 เซนติเมตร เป็นระยะเวลารวม 40 สัปดาห์ (เดือนมีนาคม – สิงหาคม) โดยเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ทำกินที่ไม่มีการปลูกต้นลิงลาว 12 แปลง กับพื้นที่ทำกินที่มีการปลูกต้นลิงลาวผสมผสาน 12 แปลง รวมทั้งสิ้น 24 แปลง พบว่าแปลงที่มีการปลูกต้นลิงลาวผสมผสานมีความชื้นในดินมากกว่าพื้นที่ทำกินที่ไม่มีการปลูกต้นลิงลาว ในพื้นที่บ้านป๊อก พื้นที่ปลูกต้นลิงลาวมีระดับความชื้นในดินสูงกว่าพื้นที่ไม่ปลูกต้นลิงลาว ร้อยละ 12.36 บ้านปางกำแพงหิน พื้นที่ปลูกต้นลิงลาวมีระดับความชื้นในดินสูงกว่าพื้นที่ไม่ปลูกต้นลิงลาว ร้อยละ 11.15  บ้านขุนลาว พื้นที่ปลูกต้นลิงลาวมีระดับความชื้นในดินสูงกว่าพื้นที่ไม่ปลูกต้นลิงลาว ร้อยละ 8.69  เฉลี่ยรวม ร้อยละ 10.73  โดยอัตราส่วนความชื้นในดินของแปลงที่มีการปลูกดอกลิงลาวผสมผสานแตกต่างจากแปลงที่ไม่ปลูกดอกลิงลาวมากในช่วงเดือน มีนาคม  – มิถุนายน หลังจากนั้นระดับความชื้นจะมีการไล่ระดับจนถึงระดับสูงสุดและใกล้เคียงกันช่วงกลางฤดูฝน(กรกฎาคม – สิงหาคม) นอกจากนี้จากการสังเกตร่วมกันระหว่างทีมวิจัยกับทีมวิจัยชุมชนพบว่าสวนเมี่ยงและสวนกาแฟที่มีการปลูกต้นลิงลาวผสมผสาน เมื่อถึงฤดูร้อนและความชื้นในดินลดต่ำลง ใบของต้นกาแฟและต้นเมี่ยงยังมีลักษณะเขียวสดและดูชุ่มชื่นกว่าพื้นที่ที่ปลูกแต่ต้นกาแฟและเมี่ยงแต่เพียงอย่างเดียว


ตารางที่ 1 ข้อมูลระดับความชื้นในดินเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ไม่ปลูกต้นลิงลาวและปลูกต้นลิงลาวผสม

ที่
พื้นที่เก็บข้อมูล
เปอร์เซนต์ความชื้นในดินโดยเฉลี่ยรวม
ผลต่างเปอร์เซนต์ความชื้นในดิน
พื้นที่ไม่ปลูกต้นลิงลาว
พื้นที่ปลูกต้นลิงลาว
1
บ้านป๊อก
55.66
68.02
12.36
2
บ้านปางกำแพงหิน
64.37
75.52
11.15
3
บ้านขุนลาว
80.55
89.24
8.69
ค่าเฉลี่ยรวม
66.91
75.98
10.73







ที่มา:โครงการศึกษาศักยภาพต้นลิงลาวในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศคุณค่าทางโภชนาการ สำหรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน(สวิง ขันทะสา,วัฒนา ปัญญามณีศร,ดร.จิราภรณ์ ปาลี,ดร.ณัฐติยา ชัยชนะ, สถาบันความหลากหลายฯ และคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย)

โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจาก: โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา


ไม่มีความคิดเห็น: